May 23, 2023

NP-chaonay Redirection Helper

(this page only acts as automatic-redirection helper, must come from specific valid redirection link | หน้านี้มีไว้เพื่อสำหรับเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนหน้าอัตโนมัติเท่านั้น โดยต้องมาจากลิงก์ที่ถูกต้องเท่านั้นด้วย)

(and this page requires JavaScript in order for automatic-redirection to work | และหน้านี้จำเป็นต้องใช้ JavaScript เพื่อให้การเปลี่ยนหน้าอัตโนมัติทำงาน)

NP-chaonay Server Notice

(For other information, see here)
(สำหรับภาษาไทย ดูด้านล่าง และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่)

Operation Time 

  • Remark: time specified here are all UTC+7
  • Uncertainty
  • But almost of all time, around 23:00-4:00 of UTC+7, the server is online. (Why? because I want to using computer to play sleeping music)
  • Time Hint (Updated on 27/04): My Studying time at M. 13-16 Tu./Th. 9-12+13-16 W. 9-12 ; for each day, only some of that period (50%? idk) but the server is online in way that frequently switched, for saving battery energy, if goodluck then you can reach my website.
  • In case the server is offline, the error "argo tunnel error" of "Cloudflare" will shown.

เวลาทำการ

  • ไม่แน่นอนชัดเจน
  • แต่โดยมากแล้ว ช่วง 23:00-4:00 จะเปิดเชิฟนะครับ เพราะต้องเปิดคอมให้เล่นเพลงกล่อมนอน
  • ใบ้เวลา (อัปเดตเมื่อ 27/04): เวลาเรียนผมคือ จ. 13-16 อ./พฤ. 9-12+13-16 พ. 9-12 ซึ่งแต่ละวันนั้น เชิฟฯจะออนไลน์ในช่วงเวลาที่ส่วนหนึ่งของมัน (สัก 50% ไม่แน่ใจ) แต่เป็นการเปิดแบบปิดๆเปิดๆ เพื่อประหยัดพลังงานคอม ให้โชคดี อาจจะเข้าเว็บได้
  • หากเข้าได้ ก็เข้าได้ หากเข้าไม่ได้ จะติด error "argo tunnel error" ของ "Cloudflare"

January 23, 2023

(ไม่สมบูรณ์) เรื่องความปลอดภัยและคำแนะนำ ระดับทั้งเบื้องต้นและลงลึก เนื่องด้วยเหตุการณ์แอปดูดเงิน

หมายเหตุ:

  • บทความนี้ไม่สมบูรณ์นะครับ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้
    • แต่ว่าจะลงก่อน เพราะช่วงนี้กลุ่มมิจฉาชีพใช้เทคนิคเรื่อง Social Engineering + Android app กันเยอะ
    •  จนกังวลว่าบุคคลที่ไม่ได้ชำนาญด้าน basic cybersecurity จะโดนหลอกจากกลุ่มดังกล่าว
    • ถือว่าเป็นวาระสำคัญมากกว่าcontent ที่ ทำก่อนหน้านี้ (ก่อนหน้านี้ทำเรื่อง การทดลองท้าทาย ChatGPT ใน Google Docs ที่แชร์ไปใน FB ผม (และเพจ NP-chaonay Production) ครับ)
  • (โปรดรอติดตามอ่านได้นะครับผม)

Basic Cybersecurity 101

(กำลังร่าง) แนวทางการป้องกันภัยคุกคามทาง cyber (computer/IT) ที่ผมตั้งใจเตรียมไว้

แนวทางนี้ผมเก็บไว้เป็น template เลยนะครับ เวลามีคนมีปัญหาและสอบถามแนวทาง จะได้มอบให้ครบถ้วนมากขึ้น แทนที่คิดสดพิมพ์สด เอาล่ะ มาเริ่มกันเลยครับ อันนี้จะไล่เป็นข้อๆ ไปนะครับ
(สำหรับ social engineer นั้น ผมจะแปะด้วยเครื่องหมาย ☣️ นะครับ เพราะหลายคนโดนตรงนี้กันเยอะ)
(อันไหนที่สำคัญมาก หรือโดนกันบ่อย ผมจะแปะด้วยเครื่องหมาย ⚡ แทน 🎯 นะครับ)

  • ⚡☣️ อันนี้สำคัญเลย คือศึกษา social engineer ที่เกี่ยวกับ cyber security threat เยอะๆ แต่ผมจะยกตัวอย่างให้ครับ
  • ⚡☣️ การดูว่ากำลังโดนหลอกไหม 101
    • ✅ Social Eng จะหลอกเราในสองทางหลักๆ
      • 1) หลอกล่อด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา (เช่น เงิน promotion รางวัล)
      • 2) หลอกด้วยสิ่งที่เป็นคำเตือนหรือสิ่งที่เร่งรัดด้วยเวลาหรือปัจจัย ให้เราต้องรีบทำ(จนโดนหลอก)
      • เพราะกลัวคำเตือนหรือสิ่งที่เร่งรัดเหล่านั้นจนลืมคิด
      • (ตัวอย่างเช่น พบของผิดกฎหมาย... การเช็คการจ่ายภาษี... เรื่องด่วนจากทางราชการแล้วให้โหลดแอป ฯลฯ)

(กำลังร่าง) Do & Don't สำหรับ Android

  • ระวังอย่างมากเวลาเปิดสิทธิ/permission ดังต่อไปนี้
    • VPN
    • ...

(ร่างครับผม แต่พวกบนๆคือทำเสร็จแล้ว) Quick Fact + FAQ เรื่องแอปดูดเงิน

  • Q: แอปดูดเงิน คืออะไร
    • A: จากข่าวแอปดูดเงิน แอปดูดเงิน คือ แอปที่เขียนระบบมาเพื่อพยายามหลอกผู้ใช้งาน ให้ได้สิทธิ์การเข้าถึงระบบปฏิบัติการของมือถือ จึงสามารถเข้าถึงแอปธนาคารได้ภายหลัง
  • Q: แต่ว่า โจรไม่รู้รหัสธนาคารนิ เอารหัสมาจากไหน
    • A: โจรใช้วิธี social engneering ครับ ในการถามผู้ใช้ให้ตั้งรหัสสำหรับแอป(ดูดเงิน) ซึ่งจะเป็นรหัส PIN 6 หลัก ทำให้ผู้ใช้มักตั้งซ้ำกับแอปธนาคาร
    • อย่างไรก็ดี หากโจรพบว่ารหัสนั้นไม่ตรงกับของธนาคาร โจรก็จะใช้วิธีอื่น ๆ แต่โดยมากคือรอผู้ใช้เข้าแอปธนาคาร หรือแอปที่ต้องเข้ารหัส PIN 6 หลัก เพื่อจะได้ลองกับแอปธนาคารดู
  • Q: Social Engineering / PIN คืออะไร
    • A: PIN คือ Personal Identification Number เป็นหมายเลขเพื่อยืนยันว่าเป็นคนๆนี้ ก็คือเป็นรหัสที่มีแต่ตัวเลข
    • A: Social Engineering อธิบายเข้าใจง่ายคือ การเล่นกับความคิดของคน ความไม่รู้ของคน หรือทักษะ ประสบการณ์ที่ไม่มากพอ หรือช่องโหว่ทางความคิด หรือการเผลอพลั้ง เพื่อทำการหลอกเหยื่อ
  • Q:แต่รหัส 6 หลักของแอปธนาคารกับแอปรัฐบาลอื่น ๆ นิ ถ้าตั้งไม่ซ้ำกันก็ลืมนะ บางทีก็รีบต้องใช้ด้วย
    • A: ตามหลักความปลอดภัยที่ควรจะเป็น คือ
    • 1) พยายามลดความซ้ำของรหัสลง รหัสอัน ๆ หนึ่ง ควรต้องใช้กับแค่บริการเดียว ทำแบบนี้ให้ได้มากที่สุด
    • 2) กลัวว่าลืมรหัส เพราะมีหลายบริการจำไม่ได้ ก็ให้พยายามเชฟลง Offline Password Manager ครับผม แต่...
    • 3) แต่หากมันเป็นรหัสด่วนจริง ๆ เช่น รหัสปลดล็อคมือถือ หรือรหัสธนาคาร ให้พยายามจำเอา แต่จำไม่เยอะ โดยการแบ่งความน่าเชื่อถือของรหัส อย่างรหัสปลดล็อคมือถือก็รหัสนึง รหัสแอปน่าไว้ใจมากๆ เช่น ธนาคารหรือหนว่ยงานรัฐ ก็อีกอัน และแอปความไว้ใจรองลงมา (เช่น หน่วยงานอื่น) ก็ใช้ PIN อีกตัว
  • Q: แล้วแอปดูดเงิน มันทำงานอย่างไร ไล่ขั้นตอนได้ยิ่งดี
    • A: อธิบายคร่าวๆ คือ มันทำงานด้วยการหลอกผู้ใช้ให้ใช้งานแอปของโจร ซึ่งจริงๆสิ่งที่ทำมันคือการให้สิทธิ์ให้แอปโจรสามารถอัดหน้าจอ และควบคุมและสังเกตการณ์การกดปุ่มบนหน้าจอได้ รวมไปถึงสิทธิ์แสดงภาพทับภาพของแอปต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เหยื่อ และรับสิทธิ์ SMS เพื่อยืนยันการโอนเงินหรือแก้วงเงิน พอเหยื่อไม่ไหวตัว ก็ชิงโอนเงินออกครับ
    • A: ถ้าอธิบายละเอียดตามขั้นตอน ก็คือแบบนี้ครับ (โดยคร่าว)
    • 1) โจรมักจะทราบข้อมูลของเหยื่อโดยคร่าว อันนี้ดูคำถามถัดไปครับว่าทำไมโจรถึงมีข้อมูลนั้น ๆ
    • 2) โจรใช้ข้อมูลมาเพื่อหลอกเหยื่อว่า เรามาดี เราน่าเชื่อถือ โดยหาเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ในการเริ่มสนทนาและบทโกง เช่น
      • เหตุด่วนเหตุร้าย เช่น แจ้งว่ามีของส่งผิดกฏหมายในชื่อคุณ
      • เหตุการณ์ที่ต้องรีบทำ หรือมีปัจจัยเร่งด่วนมากำหนด เช่น คุณต้องรีบจัดการเรื่องนี้ของ บริษัท
      • พวกของรางวัล หรือสิทธิ์ประโยชน์ ซึ่งโดยมากมักจะมีอายุจำกัด เช่น ส่วนลด Advice
    • 3) พอเหยื่อเชื่อแล้ว ก็จะชวนหรือโน้มนาวใจ ให้เหยื่อไว้ใจเรา จนกระทั้งหลอกให้เหยื่อติดตั้ง Application เข้าเครื่อง
    • 4) พอติดตั้งเสร็จ เหยื่อจะถูกทางโจร บอกให้ใช้แอปแบบนั้นแบบนี้ รวมไปถึง
      • ขั้นตอนการตั้งรหัสผ่านของแอป (เผื่อโจรจะได้รหัสธนาคารไปเลย)
      • กับขอสิทธิ์ "การสังเกตการณ์และควบคุม ปุ่มของ Application และระบบ UI หรือการทำงานกับหน้าจอ" จากระบบปฏิบัติการมือถือ (เพื่อสามารถดูการกดรหัสแอปธนาคารได้ และสามารถเข้าถึงแอปธนาคารได้ผ่านการสั่งกดปุ่มของ Application และ ฯลฯ)
    • 5) พอเหยื่อกดให้สิทธิ์กับแอปนี้แล้ว สิทธิ์ที่เหลือ (เช่น จับภาพหน้าจอ หรือการแสดงภาพทับหน้าจอ และการเข้าถึง SMS และอื่น ๆ) ก็สามารถถูกกดยินยอมได้ เพราะแอปโจรสามารถสั่งกดปุ่มของแอปใด ๆ ได้ รวมถึงปุ่มของตัว OS
    • 6) โจรจะพยายามใช้รหัสที่เหยื่อตั้งในรหัสแอปโจร มาเป็นรหัสทดสอบดูว่าเข้าแอปธนาคารได้ไหม โดยมีเทคนิคต่อไปนี้ก่อนที่โจรจะเข้าแอปธนาคาร
      • โจรจะใช้สิทธิ์ "การแสดงภาพทับหน้าจอ" เพื่อบังไว้จริงๆแล้ว โจรกำลังจะเปิดแอปธนาคาร โดยภาพที่ใช้บังแล้วแต่สถานการณ์
      • อย่างตอนที่เพิ่งตั้งค่าแอปโจรไปนั้น พอให้สิทธิ์และตั้งรหัสกับกรอกข้อมูลเสร็จ แอปโจรจะแสดงภาพประมาณว่า อย่าใช้มือถือโปรดรอ ซึ่งจริงๆ มันคือภาพที่ไว้บังว่าโจรกำลังเปิดแอปธนาคาร
      • หรือบางสถานการณ์ โจรอาจจะใช้ภาพดำ ให้หลอกเหยื่อว่ามือถือค้าง แต่จริงๆ โจรกำลังเปิดแอปธนาคาร
      • หรือบางสถานการณ์ โจรอาจจะบันทึกภาพของหน้าจอ (ใช้สิทธิ์บันทึกภาพหน้าจอ) แล้วเอามาแสดงทับ เพื่อหลอกว่ามือถือค้าง
    • 7) โจรเมื่อทำการบังหน้าจอแล้ว ก็จะเปิดแอปธนาคารแล้วลองรหัสนั้น หากไม่สำเร็จแล้ว
      • โจรจะทำการเฝ้าดูรอเหยื่อเข้าแอปธนาคาร แล้วใช้สิทธิ์การสังเกตการณ์ปุ่มของแอป หรือสิทธิ์บันทึกจับภาพหน้าจอ ในการดักรหัสได้
      • บางกรณี โจรอาจจะหลอกด้วยกลหลอกอื่น ๆ แต่ในทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ อาจจะใช้วิธีคล้ายกัน เช่นกรณีตัวอย่างศึกษาข้างล่าง (อันนี้เท่าที่ผมดูคร่าว ๆ เหมือนโจรจะยังไม่เคยนำไปใช้ และผมคิดเองครับ)
      • ตัวอย่างศึกษา: แอปขอให้เหยื่อเข้าไปในแอปธนาคารเพื่อยืนยันการเข้าถึงบัญชีเพื่อตรวจสอบอะไรบางอย่าง (ถ้าเป็นแอปแนว ๆ สรรพากร หรือภาษี หรือของหน่วยงานรัฐ) พอผู้ใช้กรอกรหัสไปแล้ว โจรจะทราบครับผม (เพราะสิทธิ์สังเกตการณ์ฯ ครับ) แต่แอปดูดเงินจะแกล้งเนียนแสดงภาพทับหน้าจอว่า แอปธนาคารขอผูกบัญชีกับแอป(ดูดเงิน)นะ ใช่ครับ ผมหมายถึงว่าแอปดูดเงินพยายามหลอกเหยื่อว่านี่คือการแจ้งเตือนขอสิทธิ์ของแอปธนาคาร แต่จริงๆ คือหน้าตาแอปหลอกของแอปดูดเงิน ที่มีไว้หลอกให้เหยื่อเข้าแอปธนาคารให้ได้ ด้วยเหตุผลว่าแอป(ดูดเงิน) ต้องการตรวจสอบบัญชีธนาคาร
    • 8) พอได้รหัสจริง ก็เข้าแอปธนาคารได้ จากนั้นสิ่งที่โจรมันทำคือ
      • ตั้งวงเงิน
      • หากมี SMS จากธนาคารส่ง OTP มาแล้ว โจรก็ยังจะอ่านได้ผ่านสิทธิ์การสังเกตการณ์ปุ่มของแอป หรือสิทธิ์บันทึกจับภาพหน้าจอ หรือผ่านสิทธิ์เข้าถึง SMS
      • โอนเงิน
    • 9) แอปหลายอัน ก็มีระบบป้องกันการถอนการติดตั้ง และซ่อนตัวเองออกจาก หน้า home screen ครับผม เทคนิคการทำคือ
      • อาศัยสิทธิ์การสังเกตการณ์ปุ่มของแอป หากพบว่าเหยื่อจะเอาแอปออก มันจะกดออกจากหน้าแอป
      • ส่วนการซ่อนตัวเองออกจากหน้า home จริงๆ แอปมีสิทธิ์ทำได้อยู๋แล้ว ไม่ต้องขอเพิ่มจากผู้ใช้ 
  • Q: แล้วจะป้องกันภัยจากแอปดูดเงินอย่างไร ในฝั่งผู้ใช้งาน
    • A: สำหรับบุคคลทั่วไป (ทั่วไปจริง ๆ)
    • 1) ไม่เปืดใจกับแอปที่ไม่ได้อยู่ในคลังแอปที่ควรสนใจ คลังแอปที่ควรสนใจจะต้องเป็น App Store ที่อยู่ในเครื่อง และต้องไม่อยู่บนเว็บและไม่โหลดจากไฟล์ apk ตามที่ไหน ๆ
    • ถึงแม้ว่าบางแอปที่ไม่ได้อยู่ในคลังแอปที่ควรสนใจ จะปลอดภัย แต่ก็มีบางอันไม่ดีกับเรา ทำให้ต้องมาวิเคราะห์ความเสี่ยงการโดน hack ตัวแหล่งที่มาดังกล่าว และต้องวิเคราะห์ด้วยว่าใช่แอปดีจริง ๆ ไหม หากวิเคราะห์ผิดจะเกิดโทษได้ง่าย เลยตัดไฟตั้งแต่ต้นลมไปเลย เพราะคนส่วนมากไม่มีความจำเป็นต้องใช้แอปจากแหล่งที่มาดังกล่าวอยู่แล้ว
    • 2) ตรวจสอบรีวิวและชื่อผู้ผลิตแอปพอคร่าว ๆ ว่าไม่มีอะไรแปลก ๆ
    • 3) เมื่อมีคำเตือนด้านความปลอดภัย โปรดอย่าเพิกเฉย พยายามตีความให้เข้าใจ
    • 4) เวลามีที่ไหนๆ บอกอะไรคุณ ควรต้องยืนยันอีกที เช่น
    • ได้รับข้อความจาก Advice คุณบอกไม่ได้หรอกว่าจริงหรือปลอม เพราะ SMS มันใครส่งก็ได้ ทางเช็คว่าปลอดภัยไหมคือ ค้นหากูเกิล พิมพ์ว่า "Advice" ไปที่หน้าเว็บทางการของบริษัท แล้วหาทางติดต่อครับ
    • หรืออย่างหน่วยงานรัฐก็ทำแบบเดียวกันคือ พิมพ์ชื่อหน่วยงาน แล้วเข้าเว็บ แล้วหาเพจหาเบอร์ติดต่อ เพื่อสอบถามว่าโดนหลอกหรือไม่
    • อนึ่ง วิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะได้หน้าเว็บโจรอยู่ แต่ก็เสี่ยงน้อยกว่า และแก้ไขปัญหาแอปดูดเงินได้ดีระดับหนึ่ง เพื่อความชัวร์ โปรดทักถามเพื่อนและคนรอบข้าง 

(กำลังร่าง) การลองแก้ไขปัญหาแอปดูดเงิน หากลบไม่ออก ด้วยวิธี Android Safe Mode

(กำลังร่าง) ลิงก์บทความแนะนำ

ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกท่านครับผม
  • เอาไว้เช็คว่ามือถือโดนแอปดูดเงินหรือยัง: https://droidsans.com/how-to-check-malicious-applications-hidden-malware-money-sucking-with-protection/#comments
  • การทำงานของเหล่ามิจฉาชีพ การสังเกตว่ากำลังจะโดนไหม และวิธีการจัดการกับภัยคุกคามเบื้องต้น: https://droidsans.com/malware-app-how-does-it-work/#comments

แอป Android แนะนำ

หมายเหตุ: ทุกแอปในรายการนี้ อยู่ใน Google Play App Store และเป็นแอปขององค์กรที่เชื่อถือได้

(กำลังร่าง) WhosCall

แอปนี้เป็นแอปไว้ใช้ดูว่าเบอร์ที่โทรเข้ามามีโอกาสเป็นกลุ่มมิจฉาชีพหรือโฆษณาอะไรหรือเปล่า
ผมเห็นว่าน่าจะเป็นแอปที่ฐานข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์ในไทย มีเยอะครับผม
Ref: th.wikipedia.org/wiki/ฮูส์คอลล์

สิ่งที่น่าสนใจ

(กำลังร่าง) นิยามของผมเรื่องความปลอดภัยแบบ Active กับ Passive

รายการเบอร์มิจฉาชีพ ที่ไม่ได้อยู่ใน WhosCall (ไม่ได้อัปเดต และในอนาคตอาจจะเป็นเบอร์ปกติได้)















July 6, 2021

(Beta) "How to Thai Wikipedia" | ตอนที่ 1 "เกี่ยวกับวิกิพีเดีย"

เกี่ยวกับวิกิพีเดีย

โลโก้วิกิพีเดียภาคภาษาไทย (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Wikipedia-logo-v2-th.svg]])

สวัสดีครับ นี้คือโพสต์แรกของผมเกี่ยวกับวิกิพีเดียนะครับ เพื่อที่ผมจะได้ทำโพสต์หลาย ๆ อันเกี่ยวกับวิกิมีเดีย/วิกิพีเดียได้ ผมจึงได้เริ่มโพสต์นี้ก่อน โดยเริ่มในรูปแบบของชุดของโพสต์ หรือ series ครับ (ขอเรียกว่า ชุดตอน แทนนะครับ) โดยนี้จะเป็นโพสต์แรกของชุดตอนที่มีชื่อว่า "How to Thai Wikipedia" ครับ เป็นชุดตอนที่เล่าเกี่ยวกับ แนะนำการใช้งานและมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียภาคภาษาไทย ครับ

โดยผมได้ศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นหลักนะครับ นั้นหมายความว่าสิ่งที่คุณเห็นก็น่าจะอิงมาจากวิกิพีเดียภาคภาษาไทยนั้นเอง แต่หลาย ๆ อย่างก็มีความคล้าย/เหมือนกับวิกิพีเดียภาคภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ครับ แต่ก็มีหลาย ๆ อย่างเช่นกันที่อิงจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมด้วยนะครับ

และทั้งนี้ ในชุดตอนนี้อาจจะเล่าเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่คุณสนใจ คุณสามารถข้ามไปอ่านส่วนอื่น ๆ ก่อนตามความเหมาะสมได้นะครับ สำหรับเนื้อหาอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในบทความนี้โดยไม่ขอแจ้งล่วงหน้านะครับ

และต่อไปนี้ผมจะนิยาม วิกิพีเดีย ว่ารวมทุกภาคภาษา หากอิงเฉพาะภาคภาษาใด ๆ จะระบุว่า เช่น วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ, วิกิพีเดียภาษาไทย เป็นต้น

เข้าเรื่องกันเลยนะครับ ในมุมมองของผมแล้ว คิดว่าคนรอบข้างผม และใครหลาย ๆ คนคงรู้จัก "วิกิพีเดีย" กันมาบ้างแล้ว แต่ว่าจะรู้จักดีแค่ไหนกันน้าา...

ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียนั้นอาศัยสามัญสำนึก ประสบการณ์ทางภาษา ความรู้ทั่วไปทางวิกิมีเดีย พอสมควร แต่ที่สำคัญ ทักษะการศึกษาด้วยตนเองนั้นมีบทบาทอย่างมากในการเรียนรู้การมีส่วนร่วมใน วิกิพีเดีย/โครงการในเครือมูลนิธิ/รวมไปถึงตัวมูลนิธิเอง --NP-chaonay


เกร่นนำวิกิพีเดีย


เอาล่ะความรู้พื้นฐานประตูด่านแรก: วิกิพีเดียคืออะไร

วิกิพีเดีย คือ เว็บไซต์ออนไลน์ชนิดหนึ่งครับ ในรูปแบบของวิกิ เป็นเว็บฯ ที่ให้บริการเนื้อหาในรูปแบบสารานุกรม พูดสั้น ๆ ก็คือเว็บไซต์สารานุกรมระบบวิกิ นั้นเองครับ


ระบบวิกิ?

ภาพถ่ายหน้าจอของเว็บไซต์ที่ใช้ระบบวิกิ (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Wikitext-wiki_markup-wikipedia.png]])
อธิบายสั้น ๆ ว่านะครับตามความเข้าใจผมคือ วิกิ เป็นรูปแบบของเว็บที่เป็นระบบหน้าบทความ และออกแบบมาให้ผู้ใช้/ผู้อ่านสามารถแก้ไขเนื้อหาของหน้าได้ตามที่ผู้ดูแลระบบเว็บฯ หรือสมาชิกในเว็บฯ กำหนดครับ โดยเว็บฯ เหล่านี้จะมีลักษณะเฉพาะครับ ที่นิยามไว้ว่า ระบบวิกิ ต้องมีลักษณะแบบนั้นแบบนี้ เอาง่าย ๆ ระบบเว็บไซต์ที่มีความคล้ายคลึงกับ วิกิพีเดีย หรือเว็บไซต์ประเภทวิกิ  ก็อาจมีความน่าจะเป็นที่เป็นระบบวิกิเหมือนกันครับ อย่างก็ตามสามารถไปศึกษาระบบวิกิที่เว็บไซต์ที่บ่งบอกว่าเป็นเว็บไซต์วิกิได้ หรือจะลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบวิกิก็ได้เช่นกัน


ที่มาชื่อวิกิพีเดีย?

มาจาก Wiki+Pedia โดย Pedia มาจากคำว่า encyclopedia (แปลว่า สารานุกรม) ครับ 


ใครเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของ

ก่อตั้งโดย จิมมี เวลส์, แลร์รี แซงเจอร์ และ มูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นเจ้าของ


มูลนิธิวิกิมีเดีย?

โลโก้มูลนิธิวิกิมีเดีย (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Wikimedia_Foundation_logo_-_vertical.svg]])
มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย จิมมี เวลส์ เป็นมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา โดยเป้าหมายคือการพัฒนาและดูแลโครงการเว็บฯ ประเภทวิกิที่มูลนิธิฯ เป็นเจ้าของ โดยโครงการดังกล่าวก็มีหลาย ๆ รูปแบบเนื้อหา เช่น สารานุกรม (รู้จักกันในนาม วิกิพีเดีย) หนังสือ (วิกิตำรา) พจนานุกรม (วิกิพจนานุกรม) เป็นต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นคลังความรู้สู่สังคมดี ๆ นั้นเองครับ

ซึ่งที่มาของชื่อ วิกิมีเดีย ก็คือ Wiki+Media (แปลว่าสื่อ) ครับ ก็คือสื่อในรูปแบบเว็บฯ วิกินั้นเอง


แล้วชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยสัมพันธ์อย่างไรกับมูลนิธิวิกิมีเดีย

อันนี้เป็นคำตอบที่เกี่ยวกับระบบชุมชนของโครงการในเครือมูลนิธิวิกิมีเดียครับ ซึ่งจะอธิบายทีหลัง แต่จะตอบสั้น ๆ ก่อนว่า: เป็นอาสาสมัครของโครงการในเครือมูลนิธิฯ ซึ่งอาสาสมัครไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกของมูลนิธิหรือต้องมีบัญชีวิกิมีเดียเลยครับ (จะเห็นว่าคำตอบมันอาจจะฟังดูเข้าใจยากหน่อยครับ เพราะอย่างที่บอกว่าต้องเข้าใจระบบชุมชนก่อน ซึ่งจะอธิบายพอสังเคปให้ทีหลังครับ)


โปรแกรมที่ใช้ในระบบวิกิ ของวิกิพีเดียและโครงการในเครือมูลนิธิวิกิมีเดีย?

โลโก้มีเดียวิกิ (Credit: Wikimedia Commons: [[File:MediaWiki-2020-logo.svg]])
MediaWiki มีผู้พัฒนาคือมูลนิธิวิกิมีเดีย และ ไบรออน วิบเบอร์ (ผู้จัดการ) และจัดอยู่ในโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดีย เป็นระบบที่เป็นที่นิยมในระบบวิกิของเว็บอื่น ๆ


ประวัติความเป็นมาโดยย่อของวิกิพีเดีย?

โลโก้ Nupedia (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Nupedia.svg]])
เริ่มมาจากโครงการ Nupedia (สร้างขึ้นเมื่อต้นปี 2543) ซึ่งเป็นโครงการเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ (คาดว่าไม่ใช่ระบบวิกิ และอาจมีแค่ภาษาอังกฤษ) ที่เขียนโดยผู้ชำนาญ จากนั้น แลร์รี แซงเจอร์ และ จิมมี เวลส์ ก็ได้ก่อตั้งสารานุกรมวิกิพีเดีย (เมื่อต้นปี 2544) จากนั้นวิกิพีเดียก็เริ่มมีหลายภาษา แล้วหลังจากนั้น Nupedia ก็ได้ปิดบริการลง (เมื่อปี 2546) และเมื่อปี 2550 วิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ได้เป็นสารานุกรมที่มีจำนวนบทความมากที่สุดในโลก


ใครเขียนบทความวิกิพีเดีย

อาสาสมัครครับ ซึ่งก็คือบุคคลทั่วไปไม่ว่าจะมีบัญชีหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการล็อคของบทความแต่ละบทความตามช่วงเวลาด้วย


ใครดูแลระบบเว็บและโครงการวิกิพีเดีย (รวมไปถึงโครงการพี่น้อง อื่น ๆ)

  • ระบบเว็บ: ผู้ที่มีส่วนร่วมใน Wikimedia Phabricator ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกมูลนิธิฯ สามารถตรวจสอบและพัฒนาระบบได้ตามสิทธิที่มี และสมาชิกบางคนของมูลนิธิสามารถเข้าถึงระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของ Wikimedia server (server ที่ใช้เปิดเว็บฯ ที่มูลนิธิเป็นเจ้าของ ซึ่งเว็บดังกล่าวก็รวมไปถึงทุกโครงการในเครือวิกิมีเดีย ซึ่งก็รวมไปถึง วิกิพีเดีย) ได้
  • โครงการ: มูลนิธิวิกิมีเดียและอาสาสมัครทั้งส่วนท้องถิ่น (ก็คือชุมชนของแต่ละโครงการนั้น ๆ) และส่วนกลาง (ชุมชนส่วนกลางสำหรับทุกโครงการในเครือของมูลนิธิ) เป็นผู้ดูแลร่วม


โครงการพี่น้อง?

คือทุกโครงการในเครือวิกิมีเดียที่มีเว็บประเภทวิกิเป็นของตัวโครงการเอง ซึ่งรวมไปถึงวิกิพีเดียด้วย

อาสาสมัครส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น?

โลโก้เมทาวิกิ เว็บไซต์วิกิที่ใช้ในชุมชนส่วนกลางสำหรับ เช่น อภิปรายตัวโครงการ เป็นต้น (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Meta-Wiki_Proposed_logo.svg]])
สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติม ผมจะยกไปบอกตอนอธิบาย ระบบชุมชนของโครงการในเครือมูลนิธิ เลยนะครับ


ระบบชุมชนของโครงการในเครือมูลนิธิ เป็นอย่างไร

โลโก้ที่สื่อถึงพันธมิตรของมูลนิธิวิกิมีเดีย (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Wikimedia_movement_affiliates.svg]])
ถ้าตามความเข้าใจของผมแล้ว จะมีชุมชนที่เป็นระบบชุมชน ซึ่งใช้กับทุกโครงการในเครือของมูลนิธิ โดยจะมีองค์ประกอบอยู่ไม่กี่ส่วนตามมุมมองของผมที่มีต่อชุมชนวิกิมีเดีย ดังนี้:

  • มูลนิธิ (Wikimedia Foundation): ตัวมูลนิธิและการทำงานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิหรือทำในนามของมูลนิธิ
  • ชุมชนส่วนกลาง (global community): ชุมชนของอาสาสมัคร โดยมีวัตถุประสงค์ดูแล/พัฒนา/จัดการ สิ่งเหล่านี้: 
    • สิ่งต่าง ๆ ที่มีผลข้ามโครงการหรือทุกโครงการโดยตรง เช่น นโยบายส่วนกลาง
    • หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เจาะจงต่อโครงการใด ๆ (มักมีผลต่อโครงการอื่น ๆ ทางอ้อม) เช่น การอภิปรายต่อการทำงานของมูลนิธิ (การทำงานบางอย่างของมูลนิธิมีผลโดยตรงต่อโครงการ แต่การอภิปรายต่อการทำงานดังกล่าวของมูลนิธิไม่ได้มีผลโดยตรง)
  • ชุมชนท้องถิ่น (local community): ชุมชนของอาสาสมัครในโครงการที่เจาะจงใด ๆ พูดง่าย ๆ คือ อาสาสมัครที่ทำงานจิตอาสาในโครงการนั้นเอง
  • พันธมิตรวิกิมีเดีย (Wikimedia Affiliates): เป็นกลุ่มบุคคล/องค์กรที่มีสถานะพิเศษเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ อาจจะอิงกับโครงการหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ข้อกำหนดของกลุ่มฯ
    • กลุ่มผู้ใช้ (User Group): คือกลุ่มของอาสาสมัครหลาย ๆ คน ที่ไม่ได้เป็นองค์กร โดยประสงค์รวมตัวเพื่อบรรลุจุดประสงค์เฉพาะที่กลุ่มประสงค์ สมมุติเช่น กลุ่มผู้ใช้ทวีปเอเซีย ซึ่งมีหน้าที่ประสานงานการทำงานเกี่ยวกับวิกิมีเดียในลักษณะข้ามประเทศในทวีป (เช่น การจัดงานประชุมวิกิมีเดียในต่างประเทศ)  เป็นต้น แม้กลุ่มผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องผ่านการยอมรับเพิ่มเติม (recognition) โดยมูลนิธิ (ประเภทพันธมิตรวิกิมีเดียอื่น ๆ จำเป็นต้องผ่านการยอมรับเสียก่อน) แต่หากมีการยอมรับฯแล้วจะสามารถมีสิทธิเพิ่มได้ เช่น การขอใช้เครื่องหมายทางการค้าของวิกิมีเดีย เป็นต้น
    • องค์กรเฉพาะกิจ (Thematic Organization): เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร แต่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมทั้งโครงการและมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยมีจุดประสงค์เฉพาะด้าน ซึ่งจำเป็นต้องผ่านข้อกำหนดที่เคร่งครัดมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ แต่น้อยกว่าสาขามูลนิธิ สมมุติเช่น องค์กร EUWM ซึ่งมีหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานในประเทศในเครือสหภาพยุโรปกับมูลนิธิ แต่ไม่ประสงค์เป็นสาขามูลนิธิ เป็นต้น
    • สาขามูลนิธิ (Wikimedia Chapter): เป็นองค์กรอิสระที่เป็นสาขาของมูลนิธิ ความหมายตรงตัวเลยครับ คล้าย ๆ กับองค์กรเฉพาะกิจ แต่มูลนิธิอนุมัติให้องค์กรมีคุณสมบัติและบทบาทเป็นสาขาของมูลนิธิครับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมทั้งโครงการและมูลนิธิวิกิมีเดียในภูมิภาคที่กำหนด (เช่น ประเทศ หรือทวีป) และถ้าตามความเข้าใจผม ก็ประมาณว่าสาขาเหล่านี้จะคอยประสานงานระหว่างมูลนิธิกับหน่วยงานท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนครับ เช่น วิกิมีเดียประเทศไทย มีหน้าที่คอยดูแลส่งเสริมโครงการวิกิมีเดียให้กับประชาชนประเทศไทย และร่วมมือกับองค์กรในประเทศไทย (เช่น DTAC, pantip) เป็นต้น ซึ่งสาขาอาจมีสำนักงานเป็นของตนได้ครับ

ชุมชนวิกิมีเดียทั้งกับประเทศไทยและผู้ใช้ภาษาไทย?

โลโก้มูลนิธิวิกิมีเดียประเทศไทย (Credit: Wikimedia Commons: [[File:Wikimedia Thailand-Logo-BW.svg]])
ตอนนี้เท่าที่ผมคลุกคลีกับชุมชนวิกิมีเดียภาษาไทยนะครับ จะขออธิบายว่ามีชุมชนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศไทยหรือกับผู้ใช้ภาษาไทย อย่างสำคัญดังนี้

  • วิกิมีเดียประเทศไทย: เป็นสาขาของมูลนิธิที่ผ่านการยอมรับแล้วจากมูลนิธิ แต่ ณ ขณะนี้ (ปี 2564) ไม่แน่ใจว่าขึ้นทะเบียนตามกฎหมายไทยหรือยัง
  • กลุ่มของอาสาสมัครผู้ใช้ภาษาไทยในชุมชนวิกิมีเดียที่ได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในโครงการวิกิมีเดียภาคภาษาไทยหรือโครงการวิกิมีเดียที่ไม่อิงภาษา:
    • ตามชื่อเลยครับ กลุ่มนี้ประกอบไปด้วย อาสาสมัครที่ใช้ภาษาไทยในชุมชนวิกิมีเดีย แต่ต้องได้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในโครงการวิกิมีเดียภาคภาษาไทยหรือโครงการวิกิมีเดียที่ไม่อิงภาษาด้วย
    • สำหรับกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ผมตั้งนิยามเองเพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายอย่างกระซับ จึงไม่ถือว่าเป็นหนึ่งในประเภทของระบบชุมชนวิกิมีเดียตามที่ผมได้กล่าวไป แต่เป็นแค่กลุ่มย่อย (ที่ผมตั้งเกณฑ์เลือกมา) ของชุมชนวิกิมีเดียก็เท่านั้น
    • โดยผมจะย่อกลุ่มนิยามนี้สั้น ๆ ว่า กลุ่มของอาสาสมัครผู้ใช้ภาษาไทยในชุมชนวิกิมีเดียฯ (จะเห็นว่าชื่อย่อนี้ ผมไม่ได้หมายความถึงอาสาสมัครที่ใช้ภาษาไทยอย่างเดียว แต่ต้องมีส่วนร่วมในลักษณะที่ตรงกับเงื่อนไขที่ผมกำหนดตามชื่อเต็มด้วย และด้วยเหตุนี้ผมจึงใส่เครื่องหมาย ไปยาลน้อย เพื่อบ่งบอกว่ามีความหมายแฝงเพิ่มเติมอยู่)
    • ชื่อผู้ใช้ขาประจำตัวอย่างในกลุ่มนิยามนี้ เช่น Geonuch, B20180 เป็นต้น ซึ่งเป็นรายชื่อตัวอย่างที่ผมเห็นคลุกคลีกับโครงการพี่น้อง
  • ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทย
    • เป็นชุมชนท้องถิ่นของวิกิมีเดียตามที่ได้ระบุไว้เกี่ยวกับระบบชุมชนวิกิมีเดีย
    • แน่นอนล่ะครับว่าชุมชนมีความสำคัญ เพราะว่าผมมองว่าเป็นโครงการวิกิมีเดียที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกครับ
    • และอาสาสมัครที่ประจำในโครงการอื่น ๆ นอกจากวิกิพีเดีย หรือทำสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับวิกิมีเดีย นั้นก็มักมาจากอาสาสมัครในชุมชนวิกิพีเดียเป็นส่วนใหญ่ครับ ซึ่งในวิกิพีเดียภาษาไทยก็เป็นเช่นนั้นเช่นกัน

ปิดท้าย

หลังจากนี้ หากสนใจประเด็นข้างบนดังกล่าวเพิ่มเติม จำพวกข้อมูลเกี่ยวกับ มูลนิธิ หรือ ระบบชุมชน ที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการใช้งานหรือการมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียภาษาไทยเท่าไหร่ ก็สามารถศึกษาเพิ่มได้เองนะครับ หรืออาจจะศึกษาด้วยตนเองในหน้าเว็บวิกิพีเดียที่ผมจะระบุไว้ในตอนถัดไปของชุดตอน ก็ได้ครับ

ก็จบแล้วนะครับสำหรับตอนแรก ในตอนถัดไปเราจะเริ่มเนื้อหาเกี่ยวกับวิกิพีเดียแบบถึงน้ำถึงเนื้อเสียทีครับ โดยในตอนต่อไปจะเป็นเกี่ยวกับเรื่อง หน้าที่ควรรู้จักในวิกิพีเดีย นะครับ ทั้งนี้คุณสามารถติดตามบล็อกผมผ่าน RSS Feed ได้นะครับ แม้ว่าหลายส่วนของข้อมูลมาจากประสบการณ์ตนเอง แต่หากมีข้อมูลเท็จจริงที่ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมาด้วยนะครับ

แหล่งข้อมูล

หมายเหตุ: ขออนุญาตอ้างอิงวิกิพีเดียนะครับ เพราะไม่ได้อ้างอิงในเชิงวิชาการ แค่ใช้ในการบอกว่านำข้อมูลจากที่ไหนมาครับ
  • คำถาม "วิกิพีเดียคืออะไร"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ
  • คำถาม "ระบบวิกิ?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิ
  • คำถาม "ที่มาชื่อวิกิพีเดีย?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ
  • คำถาม "ใครเป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของ"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ
  • คำถาม "มูลนิธิวิกิมีเดีย?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: มูลนิธิวิกิมีเดีย
    • https://wikimediafoundation.org/about/
  • คำถาม "แล้วชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยสัมพันธ์อย่างไรกับมูลนิธิวิกิมีเดีย"
    • (ไม่มี)
  • คำถาม "โปรแกรมที่ใช้ในระบบวิกิของวิกิพีเดียและโครงการในเครือมูลนิธิวิกิมีเดีย?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: มีเดียวิกิ
    • หน้าวิกิ mediawiki.org: Project:About
  • คำถาม "ประวัติความเป็นมาโดยย่อของวิกิพีเดีย?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาไทย: วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ
  • คำถาม "ใครเขียนบทความวิกิพีเดีย"
    • (ไม่มี)
  • คำถาม "ใครดูแลระบบเว็บและโครงการวิกิพีเดีย"
    • (ไม่มี)
  • คำถาม "โครงการพี่น้อง?"
    • หน้าวิกิวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ: Wikimedia_sister_projects
  • คำถาม "อาสาสมัครส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น?"
    • (ไม่มี)
  • คำถาม "ระบบชุมชนของโครงการในเครือมูลนิธิ เป็นอย่างไร"
    • หน้าวิกิที่เมทา (meta.wikimedia.org): Wikimedia_movement_affiliates
    • หน้าวิกิที่เมทา (meta.wikimedia.org): Wikimedia_user_groups
    • หน้าวิกิที่เมทา (meta.wikimedia.org): Wikimedia_thematic_organizations
    • หน้าวิกิที่เมทา (meta.wikimedia.org): Wikimedia_chapters
  • คำถาม "ระบบชุมชนวิกิมีเดียกับประเทศไทยหรือกับผู้ใช้ภาษาไทย?"
    • หน้าวิกิที่เมทา (meta.wikimedia.org): Wikimedia_Thailand

ปฏิเสธความรับผิดชอบ

  • ผมไม่ได้เขียนบทความนี้ ในนาม/ในการกำกับ ของมูลนิธิฯ หรือแม้แต่ชุมชนของวิกิมีเดียเอง
  • ผมเขียนบทความนี้ในนามของผมเอง (ณัฐพงศ์ พันพิพัฒน์) โดยไร้ซึ่งการกำกับจากบุคคลหรือหน่วยงานนอก และเป็นอิสระในการเขียนบทความนี้
  • ผู้แก้ไขไม่ขอไม่รับผิดชอบการแก้ไขที่ผิดพลาด จากการอิงเนื้อหาในบทความนี้ ขอให้ใช้วิจารณญาณส่วนตัวประกอบในการมีส่วนร่วมในโครงการวิกิมีเดียด้วยเป็นการแนะนำ

March 24, 2021

เล่นเสียงเรียกเข้ากำหนดเองได้ ขณะมีสายเรียกเข้า LINE (Android)

ปรับปรุงล่าสุด: 25/3/64

ปฏิเสธความรับผิดชอบ:

  • ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาในการ/ส่งเสริมให้ผู้อื่น ทำผิดกฏหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
  • ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนายับยั้งการส่งเสริมทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฏหมาย
  • ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาโน้มน้าวให้ลดการอุดหนุน/สนับสนุน ศิลปิน/ผู้สร้างสรรค์
  • ผู้เขียนขอไม่รับผิดชอบหากเกิดความผิดพลาดใด ๆ ในทุกระดับความร้ายแรง ซึ่งมีสาเหตุมาจากสาเหตุมาจาก Macro ของผู้เขียน, ความผิดพลาดของแอปฯ/อุปกรณ์, หรือมาจากการใช้งานที่ผิดวิธี/นอกจุดประสงค์ของผู้ใช้

เกริ่นนำ

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเสนอวิธีที่จะทำให้สามารถเล่นเสียงเรียกเข้ากำหนดเองขณะมีสายเรียกเข้า LINE ได้ (ผมไม่ได้ใช้ iOS ครับ เลยนำเสนอแค่ของ Android ไปก่อน)

แต่ขอเกริ่นก่อนนะครับ ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะใช้แอป Messenger (Facebook) กับ LINE เป็นส่วนใหญ่ครับ และสิ่งหนึ่งที่แต่ละคนอาจไม่ได้คิดหรือเคยคิดอยู่ก็คือ "ไม่ค่อยมีอิสระในการตั้ง Ringtone" ผมหมายถึงว่า Ringtone ใน LINE ตั้งได้แค่ 2 อย่างครับ: เสียงฟรีซึ่งเป็นของไลน์ กับ เสียงเสียตังซึ่งเป็นของศิลปินที่เป็นที่รู้จัก (อยู่ใน LINE Melody Shop)

แล้วคร่าวนี้ ถ้าผมจะเอาเพลงที่ไม่มีใน LINE Melody Shop ล่ะ เช่นเพลงอนุสรณ์รุ่นโรงเรียนแห่งหนึ่งล่ะ (โรงเรียนบดินทรฯ ๒) อย่างเพลง "สถานีปลายทาง" ของรุ่นผมเอง (ANUSORN26)

คือต้องบอกก่อนนะครับว่าบริษัทเจ้าของแอป LINE คงมีแนวคิดการหาเงินจากการผูกขาดนี้แหละครับ คล้าย ๆ กับ Sticker ทว่าถ้าเป็น Sticker ที่เสียเงิน บางคนก็จะใช้วิธีการจับภาพหน้าจอเอา หรือไม่ก็หาภาพอื่น ๆ มาแชทกันแทนได้ (ภาพมีอีกเยอะ แต่อุดหนุนร้าน Sticker หน่อยก็ดีนะ)

แต่ถ้าเป็นเสียงเรียกเข้าล่ะครับ ถ้าสมมุติว่าผมไม่มีเงินจะซึ้อ เพราะต้องเก็บเงินไปทำห้องอัดเพลง ก็ขอให้ผมเอาเพลงซึ่งอย่างน้อยเป็นเพลงที่แต่งเองอัดเองก็ยังดีครับ

ผมเลยเริ่มคิดอะไรออก เพราะว่าตอนนั้น ตอนประมาณใกล้ ๆ ก่อนปัจฉิมนิเทศ ม.6 ผมรอคอยเพลงรุ่นมานานมาก และพอได้ฟังก็อยากตั้งเป็น Ringtone เลย (ตอนที่มีใครโทรมาก็จะได้นึกถึงเพื่อนและความทรงจำในช่วงนั้น) เลยเริ่มลงมือทำ Ringtone แล้วนำไปตั้งค่าตั้งแต่ตัวเสียง Ringtone ทั่วไปในเมนูการตั้งค่า, Messenger, แล้วก็... ใช่ครับ LINE นี้แหละครับ (แม้จะไม่ค่อยมีใครโทรในนี้ก็ตามเถอะครับ55) แต่ทว่ามันตั้งเสียงของเราเองไม่ได้นิหนา

แต่ก็นึกออกว่าผมได้ติดตั้งแอปตัวหนึ่งไว้อยู่ ใช่ครับ ต้องขอบใจ Macrodroid ซึ่งเป็นแอปประเภท Device Automation (การทำงานอัตโนมัติของอุปกรณ์) ครับ ซึ่งแอปประเภทนี้สามารถทำงานแทนเราได้ในบางอย่างตามเงือนไขและกระบวนการที่เราสั่งได้ครับ (เช่น ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ให้ดึงข้อมูลแบบ HTTP GET แล้วส่งเสียงอ่านข้อความจากข้อมูลดังกล่าวออกมา เช่น ข้อมูลสภาพอากาศ)

ทำให้จากเดิมที่คิดว่าต้องเขียนแอปเอง หรือทำการ Root เครื่อง เพื่อบรรลุสิ่งที่ผมจะทำดังกล่าว ก็กลายเป็นว่าแค่ใช้แอปนี้โดยไม่ต้อง Root เครื่องก็สามารถทำได้แล้วครับ ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าแอป Device Automation ใน iOS จะทำแบบนี้ได้ไหมและได้ในระดับใด

ก่อนอื่นมาพูดถึงความสามารถของ Device Automation ที่ผมจะใช้กันก่อนครับ:

  • การเข้าถึงการแจ้งเตือน (ต้องสามารถสั่ง Macro ตามการแจ้งเตือนใหม่ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเรียกว่า "สามารถตั้งเป็น Trigger")
  • ตั้งตัวแปร
  • วนลูปและตรวจสอบเงื่อนไขแบบ if-else ระหว่างการทำงานของ Macro ได้
  • ตั้งช่องเสียง (audio stream) สำหรับเล่นเสียงเรียกเข้า (หากไม่มีก็ไม่สามารถปิดเสียงเรียกเข้าใน LINE ได้ ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นแต่แนะนำให้มี; หรือในบางระบบหากไม่มีอาจทำให้ไม่สามารถเล่นทับเสียงเรียกเข้าใน LINE ได้ เพราะไม่ได้อยู่ในช่องเสียงที่ถูกต้อง)
  • เล่นเสียงผ่าน API ระบบปฏิบัติการ (หรือ API ของแอปอื่นที่ใช้แทนได้) (โดยที่ต้องไม่ถูกปิดเสียงเมื่อมีช่องเสียง Ringtone ดังขึ้น ทั้งนี้เมื่อเล่นเสียงผ่านช่องเสียงที่เหมาะสม เช่น Ringtone/Alarm stream)
  • ปรับระดับเสียงได้ (ในกรณีต้องการปิดเสียงเรียกเข้าใน LINE)

ดังนั้น หากแอป Device Automation ใดมีความสามารถดังกล่าวและสามารถนำความสามารถนั้นไปใช้กับ Smartphone ของท่านได้ ก็คือว่าแอปนั้นสามารถเขียนโค้ดเพื่อบรรลุสิ่งที่ผมจะทำได้เลย แค่อาจจะไม่มีโค้ดสำหรับแอปนั้น ๆ (ผมคิดว่าแอป Device Automation ของฝั่ง iOS น่าจะทำได้นะครับ อาจจะไม่ต้อง Jailbreak อันนี้ไม่แน่ใจครับ)

เอาล่ะหากใครมี Android Smartphone ก็ลุยเลยครับ

วิธีทำ

หมายเหตุ: วิธีข้างล่างอิงจาก Macrodroid version 5.10.2 และผ่านการทดสอบบน Smartphone Android version 8.1.0 และ LINE version 14.4.1

  1. ติดตั้งแอป Macrodroid (แอปอื่นก็ได้แหละครับ แต่มันจะใช้โค้ดที่ผมทำไม่ได้ ต้องเขียนเองใหม่ ซึ่งผมไม่ครอบคลุมครับ)
  2. เปิด Notification Access ให้กับแอป Macrodroid
  3. Download Macro version ล่าสุด ของผม ชื่อประมาณ "ReplaceLineRingtone_v.X_(Thai).macro" (หรืออีกขื่อแต่ไม่มีคำว่า "(Thai)" หากตั้งภาษาแอป LINE เป็นภาษาอังกฤษ, แต่ทั้งนี้สามารถติดตั้งทั้งสองตัวลงไปได้) ลงใน Smartphone (หรือจะ Download ที่ Macrodroid Store ได้ครับ)
  4. เปิด Macrodroid: หน้า Home > Export/Import
  5. ในส่วนของ Import: เลือก Storage แล้วไปเลือกไฟล์ที่ Download มา
  6. เข้าไปในหน้า Macros > Macro ที่ติดตั้งใหม่
  7. อ่านคำอธิบาย Macro และตั้งค่า Ringtone และระยะเวลา Ringtone
เรียบร้อยแล้วครับ อาจจะลองให้ใครโทรมาเพื่อทดสอบได้ โดยผมแนะนำให้ทดสอบหลายแบบต่อไปนี้ (ทั้งโทรปกติ, โทรแบบ Video) โดยต้องตั้งโหมดเสียงก่อน
  • ปล่อยให้ปลายสายโทรมา แล้ววางสายไปเอง
  • ให้ปลายสายโทรมา แล้ววางสาย
  • ให้ปลายสายโทรมา แล้วรับสาย
โดยในทุกกรณี เสียงเรียกเข้าที่เราตั้งเองจะต้องดังขี้นประมาณไม่เกิน 1 วินาทีหลังจากที่เสียง LINE ดัง (ต้องฟังดี ๆ เพราะเสียงเรียกเข้าของเราอาจกลบเสียงเรียกเข้าใน LINE; หากไม่ได้ตั้งปิดเสียงเรียกเข้าใน LINE) หรือหลังจากที่หน้าจอสว่างขึ้น และเสียงเรียกเข้าจะต้องดับลงเมื่อมีการกดปุ่มวางหรือรับสายหรือสายดับไปเอง โดยเมื่อกดรับสายจะต้องได้ยินเสียงปลายสายด้วย

การแก้ไขปัญหา

หากมีปัญหา (เช่น ไม่มีเสียงที่กำหนดไว้, เสียงเล่นช้ากว่าเสียงใน LINE มากกว่า 1 วินาที) แล้วมั่นใจว่าทำตามวิธีถูกต้องทุกประการ ลองทำตามข้างล่างนะครับ (เรียงตามความน่าจะเป็น มากไปน้อย):
หมายเหตุ: หากใช้ Android version <8.1.0 (ซึ่งเป็นรุ่นที่ผมเคยใช้ทดสอบผ่าน หมายความว่ารุ่นที่เท่ากับหรือมากกว่ารุ่นนี้ควรจะสามารถใช้งานได้) และเป็น version ที่เลขรุ่นต่ำมาก ๆ อาจไม่สามารถใช้งานได้

ไม่มีเสียงที่เรากำหนดไว้

  • ลองอัปเดต version Macro ตามลิงก์ข้างบน และลองอัปเดต LINE และ Macrodroid เป็นรุ่นล่าสุดอีกครั้ง
  • ใช้พื้นที่ภายใน Smartphone (หากมี) แทน SD card ในการเก็บตัวแอป Macrodroid แล้วเปิด Notification Access ให้กับแอป Macrodroid อีกครั้ง
  • ลองสำรวจการตั้งค่าเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ ว่ามีเมนูไหนที่เกี่ยวข้องกับการพักแอปไม่ให้ทำงานในพื้นหลัง (Background Process) หรือมีเมนูไหนที่เกี่ยวข้องกับการสั่งปิดแอป (เช่น App Killer, Task Manager) แล้วอนุญาตแอป Macrodroid
  • (Android 5 ขึ้นไป) ยกเว้นแอป Macrodroid ในรายการของ Battery Optimization (รู้จักกันในอีกชื่อคือ Android Doze) ซึ่งสามารถทำได้ในหน้าแอป Settings > Ignore Battery Optimization
  • หากได้ปรับใช้การตั้งค่า Macro ที่ตั้งไว้เพื่อปิดเสียงเรียกเข้าใน LINE ให้ย้อนการตั้งค่าดังกล่าว (หรือสามารถทำได้โดยการลบ Macro เดิมทิ้งแล้วติดตั้งใหม่ ซึ่งจะได้การตั้งค่าเริ่มต้น)
  • ตรวจสอบว่าได้ปิดการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการโทรของแอป LINE หรือไม่
เสียงเล่นช้ากว่าเสียงใน LINE มากกว่า 1 วินาที
  • (Android 5 ขึ้นไป) ยกเว้นแอป Macrodroid ในรายการของ Battery Optimization (รู้จักกันในอีกชื่อคือ Android Doze) ซึ่งสามารถทำได้ในหน้าแอป Settings > Ignore Battery Optimization
  • ลองสำรวจการตั้งค่าเกี่ยวกับ Background Process (ไม่ได้หมายถึงตัว App Killer นะครับ หมายถึง System Component ที่มีหน้าที่ในการพักการทำงานของแอปชั่วคราวแต่ไม่ได้สั่งปิด เช่น Android Doze) แล้วอนุญาตแอป Macrodroid
หากยังมีปัญหาอยู่ อาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงของแอป LINE หรืออื่น ๆ ซึ่งสามารถแจ้งได้ที่ FB page "NP-chaonay Production" หรือ nuttapongpunpipat@gmail.com ครับ